วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550

บทที่ 7 วิชาการเงินส่วนบุคคล

วิชาการเงินส่วนบุคคล
**************************************************
หน่วยที่7
การลงทุนในสินทรัพย์อื่นและการลงทุนทางธุรกิจ
1.ประเภทของสินทรัพย์อื่นที่ควรลงทุน
2.หลักการลงทุนในสินทรัพย์อื่น
3.การลงทุนเป็นผู้ประกอบการ
4.การลงทุนในธุรกิจอื่น
หน่วยที่ 7
การลงทุนในสินทรัพย์อื่นและการลงทุนทางธุรกิจ

ประเภทของสินทรัพย์อื่นที่ควรลงทุน
-อันดับ 1 บ้านและที่อยู่อาศัย
-อันดับ 2 รถยนต์
-อันดับ 3 ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย เพื่อให้เช่า
-อันดับ 4 อัญมณี เครื่องประดับ งานศิลปะ ของสะสม โบราณวัตถุ
การลงทุนเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
ประโยชน์ของการลงทุน

-มีความปลอดภัยมากกว่าการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่น
-สามารถลงทุนได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินทั้งจำนวนตามสัญญา หลักเกณฑ์การลงทุน
-สามารถใช้ประโยชน์ได้โดยตรงและมีความสุข
-ต้องไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะการซื้อขายในตลาด
-นำมาหารายได้หรือเก็งกำไรจากการลงทุนครั้งต่อไปได้
การลงทุนเกี่ยวกับรถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องเสียง
เกณฑ์การพิจารณาการลงทุน
วัตถุประสงค์การซื้อขาย -เพื่อทำธุรกิจ สร้างรายได้ให้เกิดขึ้น
สินทรัพย์เหล่านี้ต้องเกิดมูลค่าเพิ่ม เมื่อขาย –กำไรส่วนเกินทุน
หลักเกณฑ์การลงทุน
วัตถุประสงค์ของการซื้อ
สามารถนำค่าใช้จ่ายในการซื้อมาหักภาษีได้ -ค่าเสื่อมราคา /ค่าบำรุงรักษา
พิจารณามูลค่าสุทธิ(ราคาทุน - ค่าเสื่อมราคา)ที่คาดว่าจะขายได้ราคาต่ำกว่าราคาซื้อขายครั้งแรก
การลงทุนเกี่ยวกับที่ดินและอสังหาริมทรัพย์
การพิจารณาการลงทุน
เป็นการเก็งกำไร -เมื่อสินทรัพย์มีราคาสูงขึ้น
ต้องคำนึงถึงภาวะทางเศรษฐกิจ - มีผลต่อราคาของ อสังหาริมทรัพย์
ควรจำกัดการลงทุน 10 – 15% ของสินทรัพย์สุทธิ -ความเสี่ยงน้อย
หลักเกณฑ์การลงทุน
1. พิจารณาสภาพคล่องของอสังหาริมทรัพย์-สภาพคล่องต่ำ ไม่สามารถขายในเวลาและราคาที่ต้องการ
2. ไม่ควรลงทุนด้วยเงินหมุนเวียนทั้งหมด
3. ควรให้ความสำคัญเรื่องการเกิดผลตอบแทน - การสร้างรายได้
4. ต้องมีเงินทุนหมุนเวียนไว้สำรองภาษี – การซื้อที่ดินว่างเปล่า
การลงทุนเกี่ยวกับทองคำ อัญมณี เครื่องประดับและเครื่องสะสม
การพิจารณาการลงทุน
-ต้นทุนเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูง ทำให้ราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ
(ภาพเขียน พระเครื่อง โบราณวัตถุ)
-ต้นทุนในการดูแลรักษาต่ำ แต่จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
(ทองคำ อัญมณี เครื่องประดับ)
หลักเกณฑ์การพิจารณาการลงทุน
1. ควรคำนึงถึงต้นทุนในการลงทุนที่จะต้องจ่ายเพิ่ม -ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา
2. ควรให้เกิดผลตอบแทนสูง -การลงทุนและขายเพื่อทำกำไร /การซื้อและการถือครอง
การลงทุนเป็นผู้ประกอบการ
สำรวจความเป็นไปได้ของธุรกิจใหม่
-รายได้จากธุรกิจใหม่
-เงินทุนที่ต้องการ
-ค่าใช้จ่ายต่างๆ
ปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการ
-ตัวผู้ประกอบการ
-ธุรกิจที่จะทำ
-สภาพแวดล้อม
ปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการ
ตัวผู้ประกอบการ
1.มีความรู้และประสบการณ์ทางธุรกิจอย่างดี
2.มีความพร้อมที่จะเริ่มต้นธุรกิจ - มีแผนธุรกิจ
3.มีลูกค้ารองรับ - มีช่องทางเปิดตัวธุรกิจ
4.มีความพร้อมของเงินทุน
-เงินออมและเงินสะสมส่วนตัว
-แหล่งเงินทุนจากผู้ร่วมลงทุน
-แหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงิน
-บริษัทร่วมลงทุน Venture Capital / V.C.
ปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการ
ธุรกิจที่จะทำ
มีความแปลกใหม่(Innovation) ความเหนือกว่าสินค้าที่มีอยู่ทั่วๆไป
(คุณภาพ การใช้งาน รูปแบบ)
ตรงใจลูกค้า(Niche) - ตรงความต้องการของลูกค้า
*ด้านการตลาด: สินค้าหรือบริการตรงกลุ่มลูกค้า เป้าหมาย
*ด้านความต้องการ/รสนิยม : สร้างความพึงพอใจ
*ด้านราคา : ตั้งราคาสูงกว่าราคาตลาดโดยลูกค้ายินดีจ่าย
การสร้างเครือข่าย(Network) - การหาพันธมิตรทางธุรกิจ
(การรับช่วงงาน การรับเหมางาน การเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนการเป็นแหล่งสนับสนุนวัตถุดิบและสินค้า)
ปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการ
สภาพแวดล้อม
โอกาสทางธุรกิจ -โอกาสต่างๆที่เสริมให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ
*ความคิดสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการ
*ความนิยมของตลาด
*ทิศทางของการตลาดที่สร้างความได้เปรียบแก่ สินค้า / บริการ
การสนับสนุนทางธุรกิจ -มีแหล่งเงินทุนรองรับ
การให้ความช่วยเหลือด้านความรู้ ทางธุรกิจ การสนับสนุน จากภาครัฐ และการบริหารจัดการ
ภาวะแข่งขัน (ความรุนแรงของการแข่งขัน จำนวนคู่แข่งขัน)
ความพร้อมที่จะใช้กลยุทธ์ต่อสู้การแข่งขัน
หลักการลงทุนเพื่อทำธุรกิจของตนเอง
1. การลงทุนด้วยเงินออมต้องคำนึงถึงเงินทุนในส่วนของเจ้าของที่เปลี่ยนแปลงไปตามผลกำไรหรือขาดทุนจากการทำธุรกิจ
*ส่วนของเจ้าของลด - ขาดทุน
*ส่วนของเจ้าของเพิ่ม -กำไร
2. การลงทุนโดยการกู้ยืมหรือเงินกู้ ต้องพิจารณา
- ต้นทุนของการลงทุน (ภาระดอกเบี้ย)
3. การลงทุนด้วยการร่วมลงทุน ต้องพิจารณา
-ผลตอบแทนที่จะคืน ให้กับเจ้าของเงินทุน ของกิจการ (ส่วนแบ่งผลกำไร)
ความสามารถในการแข่งขันกับธุรกิจอื่น
1. มีฐานะทางการเงินมั่นคง
2. มีความสามารถในการทำกำไร
3. มีสภาพคล่องทางธุรกิจดี
การลงทุนในธุรกิจอื่น
1. ศึกษาและวิเคราะห์โครงการที่จะลงทุน
2. ประมาณการทางการเงินเพื่อประกอบการตัดสินใจ
3. พิจารณาความพร้อมด้านเงินทุน
4. ศึกษาผลตอบแทนและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
5. ติดตามความเคลื่อนไหว/ฐานะการเงิน/ผลการดำเนินงานของธุรกิจที่ต้องการลงทุน
การวิเคราะห์การเงินและความสามารถทำ
กำไรของธุรกิจที่ลงทุน
-การวิเคราะห์สภาพคล่อง
-การวิเคราะห์ความสามารถทำกำไร
-การวิเคราะห์ผลตอบแทน ต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
การวิเคราะห์สภาพคล่อง
ความสามารถในการชำระหนี้ของธุรกิจ
1.พิจารณาทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องกับหนี้สินระยะสั้นในการเปรียบเทียบ
2.พิจารณาการแปลงสภาพเป็นเงินสดได้เร็วของทรัพย์สิน
อัตราส่วนทุนหมุนเวียน(Current Ratio) = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน
อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว(Quick Acid Test Radio) = สินทรัพย์หมุนเวียน – สินค้าคงเหลือ/หนี้สินหมุนเวียน
การวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไร
ธุรกิจอื่นสามารถสร้างกำไรได้เพียงพอกับการลงทุนในสินทรัพย์ของธุรกิจ
- เป้าหมายการวิเคราะห์พิจารณากำไรจากการดำเนินงาน
1.อัตราส่วนผลตอบแทนจากการดำเนินงานต่อการลงทุน(OIROL)
= กำไรจากการดำเนินงาน/ทรัพย์สินรวม
ถ้าผลลัพธ์อัตราส่วนที่ได้ > ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม = ได้รับกำไรจากการลงทุนมาก
หรือ OIROL = (กำไรจากการดำเนินงาน/ยอดขาย ) X( ยอดขาย/ทรัพย์สินรวม)
2.อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อยอดขาย = กำไรจากการดำเนินงาน/ยอดขาย
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตรากำไรจากการดำเนินงาน
- จำนวนหน่วยของสินค้าที่ขาย
- ราคาขายเฉลี่ย
- ต้นทุนการผลิตสินค้า/ต้นทุนการซื้อสินค้า
- ความสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายบริหาร
- ความสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายทางการตลาด/ค่าใช้จ่ายจัดจำหน่ายสินค้า
3. อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย = กำไรจากการดำเนินงาน/ดอกเบี้ยจ่าย
ถ้าผลลัพธ์อัตราส่วนที่ได้>ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม= ความสามารถชำระดอกเบี้ยค่อนข้างดี
การศึกษาและวิเคราะห์โครงการลงทุน
-ระยะเวลาคืนทุน
-มูลค่าปัจจุบันสุทธิ
-อัตราผลตอบแทนจากโครงการลงทุน
ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period)
-ระยะเวลาที่ผู้ลงทุนจะได้รับจำนวนเงินกลับคืนเท่ากับกระแสเงินสดลงทุน
(จะต้องใช้เวลากี่ปีจึงจะได้รับคืนทุน)
ข้อดี ระยะเวลาคืนทุน
-เน้นผลตอบแทนและต้นทุนของโครงการลงทุนที่เกิดขึ้นในเวลาที่แท้จริงเนื่องจากใช้กระแสเงินสด
-เป็นเครื่องมือในการคัดสรรโครงการลงทุนที่น่าสนใจ
ข้อเสีย
-ไม่ได้คำนึงถึงแนวความคิดเกี่ยวกับมูลค่าเงินตามเวลา
-ไม่สนใจว่ากระแสเงินสดรับหลังจากคืนทุนแล้วจะเป็นอย่างไร
มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV)
= มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับหลังภาษีของโครงการลงทุน – กระแสเงินสด จ่ายลงทุน
NPVของโครงการลงทุน >0 = ยอมรับโครงการ
NPVของโครงการลงทุน <0>
ข้อดี – NPV
-เป็นการคิดจากกระแสเงินสดมากกว่ากำไรทางบัญชีที่จะสะท้อนให้เห็นเวลาที่แท้จริงของผลตอบแทนที่ได้รับจากโครงการ
-สามารถเปรียบเทียบระหว่างผลตอบแทนจากโครงการลงทุนกับเงินลงทุนได้อย่างมีเหตุผล
-การตัดสินใจเลือกโครงการจะพิจารณาโครงการลงทุนที่มีค่า NPV เป็นบวก
ข้อเสีย - NPV
-อาจมีความผิดพลาดในการประมาณการข้อมูลที่ต้องใช้รายละเอียดของการประมาณการกระแสเงินสดของโครงการลงทุน
อัตราผลตอบแทนจากโครงการ ลงทุน
(Internal Rate of Return / IRR)
IRR - อัตราส่วนลดที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับหลังภาษี ของโครงการ เท่ากับ กระแสเงินสดจ่าย
IRR > อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ- ลงทุน
IRR < อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ- ไม่ลงทุน
******************************************************